หน้าเว็บ

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คีย์ลัดในการใช้คีย์บอร์ด ประหยัดเวลาทำงานบนคอมพิวเตอร์

ปุ่ม SHIFT

SHIFT + F10 = แสดง Shortcut เมนูสำหรับ Item

SHIFT+DELETE = ลบ Item ที่เลือกโดยไม่ต้องเข้า Recycle Bin

SHIFT+ TAB =เลื่อนเมนูที่เลือกผ่านมา

SHIFT เมื่อใส่ ซีดีรอม ใน ซีดีรอม ไดร์ฟ เพื่อไม่ให้ซีดี ออโต้รัน

SHIFT กับปุ่มลูกศรทิศทาง เพื่อเลือก Item หลาย ๆ อันในหน้าต่างบน เดสทอป หรือเลือก text ในเอกสาร

ปุ่ม ALT

ALT + F4 = ปิดโปรแกรมที่เปิดอยู่

ALT + TAB = สลับระหว่าง Item ที่เปิดอยู่

ALT + ESC = เลื่อนไปตาม Item ตามลำดับของการใช้งาน

ALT + ตัวอักษรที่ถูกขีดเส้นใต้บนเมนูบาร์ (เปิดเมนูนั้นใช้งาน)

ปุ่ม Windows

Windows Logo = เปิดสตาร์ทเมนู

Windows Logo + D = โชว์หน้าเดสทอป

Windows Logo + M = ลดขนาดหน้าต่างที่เปิดไว้ทั้งหมด

Windows Logo + SHIFT + M = เปิดหน้าต่างที่ลดขนาดไว้ขึ้นมา

Windows Logo + E = เปิดมาย คอมพิวเตอร์

Windows Logo + F = ค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์

Windows Logo + F1 =เปิดระบบช่วยเหลือของ Windows

Windows Logo + R = เปิดเมนู Run

คีย์ลัด, คอมพิวเตอร์, ทำรายงาน, แป้นลัด, เรียน, การศึกษา

เพิ่มเติม

Ctrl A >>>>> เลือกทั้งหมด

Ctrl C >>>>>> คัดลอก

Ctrl V >>>>>> วาง

Ctrl S >>>>>> บันทึกข้อมูล

Ctrl F >>>>>> ค้นหา

Ctrl Z >>>>>> ยกเลิกการกระทำก่อนหน้านี้(Undo)

Ctrl X >>>> ตัด(Cut)

Ctrl Q >>>> ออกจากโปรแกรม

Alt Shift (left) >>>> สลับภาษา

Shift end >>>>> เลือกตั้งแต่ที่ cursor อยู่จนถึงท้ายของบรรทัด

Shift home >>>> เลือกตั้งแต่ที่ cursor อยู่จนถึงต้นของบรรทัด

ที่มา : www.eduzones.com

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การทำให้ลูกศรบน shortcut file หายไป

จากเดิม shortcut ของคุณมีหน้าตาเป็นอย่างนี้



แล้วคุณต้องการให้ลูกศร หายไป


มีขั้นตอนการทำดังนี้

ขั้นแรก :  ไปที่ start menu >>> run



ขั้นสอง : ในช่อง Open: ให้ใส่ว่า regedit ลงไป แล้วกด OK



จะมีหน้าต่าง Registry  Editor ขึ้นมา



ขั้นสาม :  ให้คลิก + หน้า HKEY_CLASSES_ROOT



ขึ้นสี่ :  หาหัวข้อที่ชื่อว่า lnkfile คลิกเลือก lnkfile จะปรากฏหัวข้อเพิ่มขึ้นมาทางด้านขวา และทำการดับเบิ้ลคลิกที่ IsShortcut



ขั้นห้า :  จะมีหน้าต่าง Edit String เด้งขึ้นมา  ให้กำหนดค่า Value Data: เป็น NoIsShortcut แล้วจึงกดปุ่ม OK



ขั้นสุดท้าย : ทำการ restart windows ใหม่อีกครั้ง  แล้วลูกศร บน shortcut file ก็จะหายไปตามที่คุณต้องการ

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การลงวินโดวส์ใหม่ ก็มีวิธีดังนี้

การลงวินโดวส์ใหม่ ก็มีวิธีดังนี้
1. เปิดเครื่อง สั่ง BIOS ให้ boot จาก CD-ROM (boot from CD-ROMอันดับแรก)
หลังจาก save BIOS และ exit กดEnterแล้วเครื่องจะ restart
2. ใส่ แผ่น windows XP เข้าไปใน CD-ROM Drive
3. จะพบข้อความ press any key to boot from CD.. ให้กดปุ่ม Enter
เพื่อ boot เครื่องจาก CD-ROM Widows XP
4. จะมีการ copy ไฟล์หรือข้อมูลบางส่วน ให้คุณรอไปก่อน
5. เมื่อพบหน้าต่าง welcome to setup ให้เริ่มติดตั้งได้ทันทีโดยกดปุ่ม Enter เพื่อทำขั้นตอนต่อไป
6. จะปรากฏข้อความเกี่ยวกับการใช้งาน windows XP (หน้าจอเขียนว่า Windows XP Licensing)
ให้กดปุ่ม F8 เพื่อยอมรับรายละเอียดดังกล่าว
7. พอมาถึงขั้นตอนนี้ จะเป็นการเลือกติดตั้ง Windows XP ลงใน partition ใด
คุณจะพบคำสั่งให้เลือก 3 แบบคือ
-ติดตั้งใน partition ที่เลือกไว้ ให้ กด Enter
-สร้าง partition ใหม่กด C
-ลบ partition นั้นกด D
ผมสมมติว่าคุณจะเลือกลงใน partition ที่เลือกไว้คือ Drive C นะ
ให้คุณกด Enter เพื่อติดตั้งที่ Drive C
8. เลือกระบบไฟล์ที่ต้องการ โดยกดปุ่มลูกศรขึ้นลง หลังจากนั้นกด Enter
9. ปรากฏหน้าจอให้ format (to continue and format the partition ,press Enter) ให้กด Enter
10. Windows จะเริ่ม format
11. หลังจาก format แล้วมันก็จะ copy ข้อมูลลงใน HDD
12. หลังจากนั้นปรากฏหน้าจอ This partition of setup has completed……
ให้กดปุ่ม Enter เพื่อ restart เครื่อง
13. หลังจากเครื่องเริ่ม restart อย่ากดปุ่มใดๆ ให้รอจนกว่าจะขึ้นหน้าจอ Windows XP Professional
14. จะเห็นวินโดว์ตรวจสอบค่าต่างๆ พร้อมทั้งบอกข้อดีอะไรของมันไปตามเรื่อง
คุณก็อ่านเล่นๆ ไปพลางๆ ก่อนได้
15. รอสักหน่อยก็จะปรากฏหน้าต่าง Regional and language Option ออกมา คลิ๊กที่แท็บ Customize
16. คลิ๊กที่แท็บ languages
17. คลิ๊กถูกที่ข้อความ install files for complex scipt….แล้วตอบ OK
และคลิ๊กถูกที่ install files for East Asian language แล้วตอบ OK
18. จากนั้น คลิ๊กที่แท็บ advanced
19. เลือกภาษาไทย แล้วกด Apply เครื่องจะ copy ไฟล์ font ภาษาไทย (ขั้นตอนนี้ใจเย็นรอสักครู่)
20. หลังจากนั้นคลิ๊กที่แท็บ regional option แล้วเลือกไทย location ก็เลือกเป็น Thailand
21. คลิ๊ก next
22. จะปรากฏหน้าต่าง personalize Your software
ให้คุณตั้งชื่อตามใจที่คุณต้องการ ส่วนช่อง Organization เลือกพิมพ์เป็นอะไรก็ได้
23. คลิ๊ก next
24. กรอกหมายเลขแผ่น windows XP ซึ่งมี 25 ตัว
25. คลิ๊ก next
26. กรอกชื่อ computer ของคุณ ที่ช่อง computer name
27. ตั้ง password หรือไม่ตั้งก็ได้ตามใจ
28. คลิ๊ก next
29. ตั้งวันที่ให้ตรง ที่ time zone เลือก GMT +7 Bangkok,Hanoi,Jakata
30. คลิ๊ก next
31. เลือการติดตั้งแบบ Typical
32. คลิ๊ก next
33. กรอกข้อมูลเครือข่ายกรณีที่คุณเชื่อมต่อกับเครือข่ายโดยใส่ชื่อเครือข่ายของคุณ
ถ้าคุณมี modem มันก็ให้คุณ set ค่าต่างๆ ขณะนั้นเลย คุณก็กรอกไป
34. คลิ๊ก next และรอต่อไปจนกระทั่งมัน restart ใหม่
35. อย่ากดปุ่มใดๆ ให้รอจนกระทั่งมันขึ้น logo Windows Xp professional
36. ถ้าเครื่องคุณเป็น VGA on Board มันก็จะปรับขนาดจอภาพให้คุณจนขึ้นมองได้ชัดเจนแล้วให้กด OK
แต่ถ้าเป็น VGA ต่างหากมันจะข้ามขั้นตอนนี้ไป
37. จะปรากฏหน้าจอ Welcome to………. .ให้คุณคลิ๊ก next ด้านล่างขวา
38. หากคุณต่อ internet มันจะเชื่อมต่อ internet เพื่อ update
แนะนำว่าข้ามขั้นตอนนี้ไปเลยโดยคลิ๊กที่ skip ซึ่งอยู่ด้านล่างขวา
39. จะปรากฏหน้าจอ ready to register with ….. ให้คุณเลือก No, not this time
40. คลิ๊ก next ด้านล่างขวา
41. จะปรากฏหน้าจอ who will use this computer? ให้คุณกรอกชื่อผู้ใช้ซึ่งมีให้กรอก 5 users
แต่คุณกรอกชื่อเดียวได้โดยชื่อนั้นห้ามซ้ำกับชื่อเครื่องที่คุณตั้งไว้ในข้อ 26
42. คลิ๊ก next ด้านล่างขวา
43. คลิ๊ก finish ด้านล่างขวา เป็นอันเสร็จ
44. หลังจากนั้นจะปรากฏหน้าจอใช้งานเป็นรูปทุ่งหญ้าวิวมี เมฆ ถ้าจำไม่ผิดจะมี icon ตัวเดียว
คือ recycle bin อยู่ที่มุมล่างขวา คุณสามารถเพิ่ม icon ใช้งานอื่นๆได้
โดย คลิ๊กขวาบริเวณพื้นที่ว่างเลือก properties แล้วคลิ๊กที่แท็บ Desktop
แล้วคลิ๊ก Customize Desktop (อยู่ใกล้ๆ ปุ่ม OK) จะปรากฏหน้าต่างDesktop Item
ที่แท็บ General ให้คุณคลิ๊กถูกที่ Desktop icon ที่คุณต้องการโชว์บนหน้า Desktop
หลังจากนั้นคลิ๊ก OK เป็นอันเรียบร้อย
หากซีพียูของคุณมีความเร็ว 700 เมกะเฮิร์ตขึ้นไป และมีหน่วยความจำอย่างน้อย 256 เมกะไบต์
(แน่ะนำ 256 เมกะไบต์ขึ้นไปยิ่งดีมากๆๆๆๆๆ) ฮาร์ดดิสก์ 20 กิกะไบต์ขึ้นไป
ไดรฟ์ซีดีรอม 24X ขึ้นไป การ์ดจอก็ควรจะมีหน่วยความจำสัก 64 เมกะไบต์
จะให้ดีเป็นการ์ดจอแบบ AGP 4X ,8Xด้วยล่ะก็ เยี่ยม!
โมเด็ม Soft V92 จะให้ดีไปกว่านั้นก็การ์ดเสียง PCI ลำโพงดีๆ สักคู่ ( นะจะบอกให้ๆๆๆๆๆๆๆๆ.........)

อีกวิธีคล้ายๆกัน

ถ้า เป็น Windows XP นะครับ จะ format เครื่อง ในกรณีของคุณ Zeesa หมายถึงการลง Windows ใหม่ ถ้าจะลง windows xp ใหม่ต้องเตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้นะครับ
1. แผ่น Boot Windows XP ก็คือแผ่น CD-Rom ติดตั้ง windows นั้นเองนะครับ โดยแผ่นนี้จะต้องเป็นแผ่น Boot ในตัวเองด้วย โดยมากแล้วจะเป็นแบบ Boot ในตัวแล้วนะครับ
2. สำรองข้อมูลออกจาก HDD ก่อน โดยวิธีเขียนลง CD หรือ copy ลงอีก HDD หนึ่งก็ได้ ง่ายที่สุดก็คือเขียนลง CD เก็บเอาไว้นะครับ ง่ายและปลอดภัยที่สุด
3. แผ่น Driver Mainboard, VGA Card, Sound Card และแผ่นโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้หลังจากลง วินโดวส์เสร็จ เช่น Office หรือ Application อื่นๆ

ขั้นตอนการลง windows นะครับ
1. ต้องรู้จัก BIOS เพราะเราต้อง set ให้เครื่องคอมฯ ของเรา Boot จาก CD-Rom เป็นหลัก โดยปกติ เครื่องโดยทั่วไปจะ Boot จาก Hdd เป็นหลัก ในกรณีที่ใช้งานปกตินะครบ แต่ถ้าต้องการลง OS ใหม่ เราต้อง กำหนด FirstBoot เป็น CD-Rom นะครับ แต่ Mainboard บางรุ่นสามารถกดคีย์ F8 หรือ F11 เพื่อเลือกลำดับการ Boot ได้ เช่น 1.CD-Rom, 2.Hdd, 3.Fdd, 4.Network แล้วจะรู้ได้ไงว่า ต้องกดคีย์อะไรถึงจะเป็นเมนูนี้ ให้สังเกตุตอนที่เราเปิดเครื่องตอนแรกนะครับ จะมีข้อความที่เน้น เด่นชัดเจน ว่าให้กดคีย์ตัวไหน เพื่อทำอะไร เช่น DEL key Setup BIOS นั้นก็คือ กดคีย์ Del เพื่อกำหนดหรือติดตั้ง BIOS ของ Mainboard ให้รีบกดตั้งแต่เห็นข้อความเลยนะครับ ถ้า Boot เข้าหน้าจอ windows แล้วจะใช้ไม่ได้นะครับ
จะรู้ได้ไงว่า Firstboot อยู่ที่ไหน คำว่า FirstBoot หมายถึงจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ค้นหาข้อมูลการBoot เครื่องจากอุปกรณ์ตัวไหน เช่น CD-Rom, Harddisk, NetWork ในกรณีที่เราต้องการลง OS ใหม่ให้เลือก FirstBoot เป็น CD-Rom นะครับ ลองหาดูในเมนูต่างๆ ใน BIOS นะครับ เพราะ Mainboard แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ เมนูอยู่คนละจุดกัน บางรุ่นก็สังเกตุเห็นได้ชัดเจน เช่นอยู่ที่เมนู Boot Select หรือบางรุ่นอยู่ที่เมนู Advance ใช้คีย์บอร์ด ปุ่มซ้าย,ขวา,ลง,ขึ้น เพื่อเลือกเมนู Enter เพื่อเลือกเมนู หรือ Esc เพื่อออกจากเมนู
ถ้าเจอ เมนู Boot แล้วให้เปลี่ยน firstboot = CD-ROM นะครับ จำเมนูนี้ให้ดีนะครับ หรือจดเอาไว้ก็ได้ เพราะหลังจาก ลง OS เสร็จแล้ว เราต้อง set FirstBoot เป็น Hdd นะครับ เพื่อป้องการการผิดพลาดจากการใส่แผ่นค้างที่ CD-Rom เพราะลืมเอาแผ่นออกหลังจากเล่นเสร็จ ในกรณีที่บางแผ่นสามารถ Boot ได้ อาจจะทำให้เราต้องลง Windows ใหม่อีกก็ได้นะครับ และจะทำให้เครื่อง boot ได้เร็วขึ้นโดยที่ไม่ต้องไปค้นหาการ Boot จากแผ่น CD-Rom ก่อน
เลือก รายการ Boot ได้แล้ว ก็ให้กดคีย์ F10 นะครับ และยืนยันการSave ตอบ Yes จากนั้นเครื่องจะ reBoot ใหม่ ให้ใส่แผ่นติดตั้ง Windows ใน CD-Drive

2. หลังจากใส่แผ่นติดตั้ง windows เครื่องคอมฯจะ boot จาก cd-rom เข้าสู่โหมดการติดตั้ง OS การติดตั้ง จะมี 2 ข้อเลือกในการจัดการกับ HDD นะครับ คือ 1. เลือก Format เฉพาะ Partition ที่เป็น C: เพื่อลบข้อมูลเตรียมลง Windows ใหม่ หรือ 2. ลบ Partition ทั้งหมดใน Hdd เพื่อสร้าง Partition ใหม่ ในกรณีนี้ เราต้องแน่ใจว่าข้อมูลใน Hdd ทั้งหมดมีการสำรองเอาไว้แล้วหรือ เราไม่ต้องการข้อมูลใดๆใน Hdd ของเราอีกแล้ว
2.1 ถ้าเลือก Format เฉพาะ C: ให้อ่านตัวเลือกให้ดีนะครับ วิธีการ format ก็จะมี ชนิดของ Partition ให้เลือกอีกคือ NTFS หรือ FAT32 จะเลือกอันไหนดี สำหรับ Windows XP นะครับ ให้เลือก NTFS นะครับ
2.2 ถ้าต้องการลบข้อมูลทั้งหมดใน HDD เพื่อสร้าง Drive ใหม่ ในกรณีที่ติด Virus หรือไม่ต้องการข้อมูลทั้งหมด วิธีนี้จะดีที่สุดนะครับ จะทำให้เราได้เนื้อที่หรือสร้างเนื้อที่ในการเก็บข้อ มูลใหม่ทั้งหมด แล้วเราจะลบ Partion อย่างไร ให้ลบ Partition จากล่างสุดขึ้นไปนะครับ กดปุ่ม ขึ้นหรือลง เพื่อเลือก Partition จากนั้นกดคีย์ Del Partition นั้นจะหายไป แต่เนื้อที่ของ HDD จะเหลือเท่าเดิมนะครับ เมื่อลบหมดแล้ว ให้สร้าง Partition ใหม่ พื้นที่ C: จะมีขนาดโดยประมาณ 15GB - 20 GB นะครับ ถ้ามากกว่านี้จะทำให้ Boot หรือทำงานช้า เมื่อใช้งานนานๆ นะครับ
ขณะลง Windows ให้สังเกตุดูเมนู หรือ Option แต่ละข้อให้ดีนะครับ จะมี option ให้เราเลือก ถ้าทำได้ 2 ข้อนี้ การลง OS ก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้วครับ แต่ต้องอ่าน Eng ให้ดีหน่อยนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รู้จัก กับ บริดจ์ สวิตซ์ และ เราเตอร์

เมื่อต้องการเชื่อมเครือข่ายย่อยหลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ประกอบที่ทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เชื่อมโยงถึงกัน โดยทั่วไปเรามักใช้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นชุดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า แพ็ก เก็ต ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตสามารถเคลื่อนที่จากต้นทางไปยังปลายทางได้ โดยผ่านอุปกรณ์เลือกเส้นทาง การเลือกเส้นทางสามารถเลือกผ่านทั้งทางด้านเครือข่ายแลนและแวน

          โดยปกติมีการกำหนดแอดเดรสของตัวรับและตัวส่ง ดังนั้นจึงต้องมีแอดเดรสปรากฎอยู่ในแพ็กเก็ต อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายทุกหน่วยจึงมีแอดเดรสกำกับ แอดเดรสหรือตำแหน่งที่อยู่มีรูปแบบที่ชัดเจน ได้รับการกำหนดเป็นมาตรฐาน เช่น แอดเดรสที่ใช้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ใช้รหัสตัวเลข 32 บิต ที่เรียกว่า ไอพีแอดเดรส แพ็กเก็ตข้อมูลทุกแพ็กเก็ตจึงมีข้อมูลที่บ่งบอกว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาจากที่ ใด และปลายทางอยู่ที่ใด

          การเลือกเส้นทางจึงขึ้นอยู่กับแอดเดรสที่กำหนดในแพ็กเก็ต เมื่อแพ็กเก็ตข้อมูลผ่านมายังอุปกรณ์ต่าง ๆ อุปกรณ์เหล่านนั้นจะตรวจสอบดูว่า แอดเดรสต้นทางและปลายทางอยู่ที่ใด จะส่งผ่านแพ็กเก็ตนั้นไปยังเส้นทางใด เพื่อให้ถึงจุดหมายตามต้องการ



รูป อุปกรณ์หลักในการเชื่อมโยงเครือข่าย คือ บริดจ์ เราเตอร์ และสวิตซ์

          อุปกรณ์ ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย และทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายมีหลายประเภทด้วยกัน อุปกรณ์แต่ละชนิดมีขีดความสามารถแตกต่่างกันออกไป อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลักทั้งแลน และแวน ประกอบด้วย บริดจ์ เราเตอร์ และสวิตซ์

          บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่าย สองเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับอีเทอร์เน็ต บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บริดจ์จึงเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่ายการติดต่อภายในเตรือข่าย เดียวกันมีลักษณะการส่งข้อมูลแบบกระจาย (boardcasting) ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้ิอกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเ้ฉพาะแพกเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเสมือนเป็นตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายใน เครือข่ายของตนไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเกนริง เป็นต้น

          หากมีการเชือมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชืี่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบแลน และแวน อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยง คือ เราเ้ตอร์ เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเีทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทางที่ส่งต่อมีมาตรฐานทางเครือข่ายที่แตกต่างออกไป ก็จะแปลงให้้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เช่น รับข้อมูลจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อทางพอร์ตแวนที่เป็นแบบจุดไปจุด ก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่ายแวนได้

          ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมาก ทำให้การใช้งานเราเตอร์มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมอุปกรณ์เราเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเตอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหาเส้นทางเดินที่สั้นที่สุด เลือกตามความเหมาะสม และแก้ปัญหาที่เกิิดขึ้นเองได้

          เมื่อเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความ สามารถในการทำงานได้เร็วขึ้น จึงมีผู้พัฒนาอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ตหรือเรียกว่าสวิตซ์แพ็กเก็ต ข้อมูล โดยลดระยะเวลาการตรวจสอบแอดเดรสลงไป การคัดแยกจะกระทำในระดับวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เชิงความเร็วและความแม่นยำสูงสุด อุปกรณ์สวิตซ์จึงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สวิตซ์แพ็กเก็ตข้อมูลจากอินพุตไป ยังเอาท์พุตพอร์ตที่ต้องการสวิตซ์ข้อมูลจึงมีเวลาหน่วงภายในตัวสวิตซ์ต่ำมาก จึงสามารถนำมาประยุกต์กับงานที่ต้องการเวลาจริง เช่น การส่งสัญญาณเสียง วิดิโอ ได้ดี

          อุ ปกรณ์สวิตซ์ มีหลายแบบ หากแบ่งกลุ่มข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเล็ก ๆ และเรียกใหม่ว่า เซล ก็กลายเป็น เซลสวิตซ์ หรือที่รู้จักกันในนาม เอทีเอ็มสวิตซ์ ถ้าสวิตซ์ ข้อมูลในระดับเฟรมของอีเทอร์เน็ต ก็เรียกว่า อีเทอร์เน็ตสวิตซ์ และถ้าสวิตซ์ตามมาตรฐานเฟรมข้อมูลที่เป็นกลางและสามารถนำข้อมูลอื่นมาประกอบ ภายใต้ ก็เรียกว่า เฟรม รีเลย์

          อุปกรณ์สวิตซ์ซึ่งจึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้ใช้กับความเร็วของการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก เช่น เฟรมรีเลย์ และเอทีเอ็มสวิตซ์ สามารถสวิตซ์ข้อมูลขนาดหลายร้ิอยล้านบิตต่ิอวินาทีได้ เทคโนโลยีนี้จึงเป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยม

          การออกแบบและจัดรูปแบบเครือข่ายในองค์กรที่เป็น อินทราเน็ต ซึ่งเชื่อมโยงได้ทั้งระบบแลน และแวน จึงต้องอาศัยอุปกรณ์เชื่อมโยงต่าง ๆ เหล่านี้ อุปกรณ์เชื่อมโยงทั้งหมดนี้รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จากเครือข่ายพื้นฐานเป็นอีเทอร์เน็ต ก็สามารถเชื่อมเข้าสู่เอทีเอ็มสวิตซ์ เฟรมรีเลย์ หรือบริดจ์ เราเตอร์ได้ ทำให้ขนาดของเครือข่ายมีขนาดใหญ่ขึ้น

          เทคโนโลยีการเชื่อมต่อจึงเป็นเรื่องที่สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ ยาก เพราะอุปกรณ์ที่ใช้หลัก จะเป็นอุปกรณ์ดังที่กล่าวมานี้
   
ที่มา  : www.ku.ac.th

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

20 วิธีที่คุณควรลอง ถ้าอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอกของคุณอยู่ๆ ก็ไม่ยอมทำงาน

20 วิธีที่คุณควรลอง ถ้าอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอกของคุณอยู่ๆ ก็ไม่ยอมทำงาน

20 วิธีที่คุณควรลอง ถ้าอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอกของคุณอยู่ๆ ก็ไม่ยอมทำงาน
แม้ว่า plug 'n' play จะอยู่กับเรามากว่าทศวรรษแล้วก็ตาม
แต่มันก็เบี้ยวเราประจำ ก่อนที่จะโทรหาใคร...
ลองตรวจสอบอะไรที่มันง่ายๆ ดูก่อนไหม...

1. ตรวจสอบเองก่อนได้หรือเปล่า
ถ้า คุณเคยเจอกับปัญหาแล้วโทรไปถามเทคนิคัลซัพพอร์ต
พวกเขาชอบบอกให้คุณตรวจสอบเบื้องต้นโน่นนี่อยู่นั่นแหละ
แต่เขาก็มีเหตุผลที่ดีนะ ผู้คนส่วนมากถึงมากที่สุดมักจะทำผิดโง่ๆ ซ้ำซากเหมือนกันไปหมด
สายไฟก็ไม่ตรวจ สายเคเบิลก็ไม่ดู คู่มือก็ไม่ยอมอ่านอีก
ฉะนั้นเนี่ย มันไม่ยากหรอก ถ้าคุณจะลองเอาโปรแกรมต่างๆ
มาลงใหม่ตั้งแต่ต้นแล้วก็ลองตรวจหาข้อผิดพลาดในแต่ละส่วนด้วยตัวของคุณเอง ก่อน

2. สับขาหลอก
ลอง เสียบอุปกรณ์ที่รองรับ USB เข้าไปในช่อง USB ต่างๆ ที่มีอยู่
อันนี้มันจะทำให้ Windows ติดตั้งไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์นั้นๆ ให้ใหม่

3. ระบบ USB

ถูก สร้างขึ้นมาให้เป็นชุดของช่องต่อที่ทำหน้าที่พูดคุยกับตัวควบคุมโฮสหลักใน PC ของคุณ
คุณไปหาดูได้ว่ามันมีอะไรบ้าง ที่เซ็กชั่น USB ที่อยู่ใน Device Manager ให้ดับเบิลคลิกที่ฮับ
ซึ่งตัวควบคุมโฮสหลักที่ควบคุมแบนด์วิดธ์และฮับจะรายงานระดับการใช้งานของ พลังไฟออกมาให้

4. หยุด! ได้เวลาราวีแล้ว!

ปัญหา ของไดรเวอร์มักจะลงเอยด้วยการกลายเป็นปัญหาระดับชาติเสมอ
เช่น หน้าจอสีน้ำเงิน, อยู่ๆ ก็รีเซตตัวเอง หรือระบบถูกล็อกซะอย่างนั้น
ถ้าปัญหาเหล่านี้มันเกิดขึ้นกับคุณ ให้จดไว้ด้วยว่าคุณทำอะไรอยู่ตอนที่ระบบพัง
อันนี้จะช่วยบีบต้นตอของปัญหาที่อาจจะเป็นเหตุให้ระบบพังแคบลงได้

5. ขบวนการมนุษย์ไฟฟ้า

อุปกรณ์ ที่รองรับ USB สามารถดึงไฟจากบัสมาใช้ได้
แต่ส่วนมากมันอยากได้ไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายภายนอกมากกว่า Windows XP
จะมีรายงานความผิดพลาดออกมาให้ในกรณีที่ระบบไฟมีไม่พอ
แต่คุณก็สามารถตรวจสอบช่องเสียบ Root Hub ได้เองด้วย

6. ชิดในด้วยพี่
กับ ไดรเวอร์ USB บางตัว ตัวที่มันเก่าๆ น่ะ เรามีเรื่องสุดฮาของมันจะเล่าให้ฟัง
เป็นเรื่องเกี่ยวกับลำดับของการติดตั้งฮาร์ดแวร์
มันทำเหมือนอยากจะให้คุณเสียบอุปกรณ์ USB ตัวใหม่เข้าไปเลยแล้วค่อยลงไดรเวอร์
แต่มันจะเป็นเรื่องที่รอบคอบมากทีเดียวที่คุณจะอ่านคู่มือแล้วก็เริ่มติด
ตั้งไดรเวอร์ลงไปก่อนเสมอ จากนั้นค่อยเสียบอุปกรณ์ USB ของคุณเข้าไป

7. สปีดขึ้นอีก
ถ้า คุณอยากจะใช้อุปกรณ์ที่รองรับ USB 2.0 ซึ่งมันเอาเร็วมากๆ
คุณจะต้องมีช่องต่อแล้วก็สายเคเบิลที่รองรับ USB 2.0 ด้วย
ไม่อย่างนั้นมันก็จะใช้ความเร็วได้ไม่เต็มที่หรือถูกจำกัดอยู่ที่ความเร็ว ที่เป็นของ USB 1.1 เท่านั้น

8. งานฝีมือมันเป็นเรื่องของงานฝีมือ
เรื่อง นี้มันเคยถูกพูดถึงมาแล้ว และมันก็จะถูกพูดถึงอีกครั้ง
แต่เรื่องที่ถือเป็นก้าวสำคัญที่ Microsoft ได้ทำขึ้นมาก็คือ
มันสนับสนุนให้ทุกๆ คนใช้ไดรเวอร์ที่ผ่านการรับรองจาก WHQL (อ่านว่า วิกเกิล)
ซึ่งไดรเวอร์เหล่านี้เป็นไดรเวอร์ที่ถูกส่งไปที่ Windows Hardware Quality Labs ของ Microsoft
และมันก็จะถูกทำให้ได้รับการยอมรับว่ามันมีความสเถียรพอ
 ไดรเวอร์อะไรก็ตามที่ติดตั้งด้วย Windows XP หรือมาจากอัพเดตไซต์นั้นจะผ่าน WHQL แล้ว
ถ้าคุณมีปัญหากับอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก
เราอยากแนะนำว่าให้คุณลองติดตั้งไดรเวอร์ที่ได้รับการรับรองแล้วจาก WHQL
ผ่านทางเว็บ Windows Update หรือจากเว็บไซต์ของผู้ผลิตเองก็ได้

9. แย่งกันเข้าไป
ถ้า คุณกำลังรับมืออยู่กับปัญหาการแย่งทรัพยากรของอุปกรณ์
มันยังมีเทคนิคอื่นๆ อีกสองสามอย่างที่น่าจะลองดู อันที่ใช้ได้บ่อยที่สุดก็คือ
การที่คุณปิดพอร์ตซึ่งอยู่ใน BIOS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ ทั้งซีเรียลพอร์ตและพาราเรลพอร์ต
ซึ่งมันจะปลดทรัพยากรทั้งหลายออกมาให้คุณใช้งานได้

10. มอมแมม
เลนส์ ของหัวอ่านเลเซอร์ที่สกปรกสามารถทำให้เกิดปัญหาในการอ่านข้อมูล
ขณะที่ชุดทำความสะอาดมาช่วยเราแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้
แต่ว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากแผ่นที่เป็นรอย ลองซื้อ Manual CD Cleaner & Repairer
ที่ www.maplin.co.uk มาใช้ดู

11. เสียงกระซิบจากความเงียบ
การ ดึงเสียงออกมาจากไดรฟ์ CD หรือ DVD ของคุณนั้น ทำได้สองวิธีคือ
วิธีทั่วๆ ไปที่ใช้สายเคเบิลดึงข้อมูลแบบอะนาล็อกออกมาจากไดรฟ์
แล้วส่งไปให้ซาวนด์ การ์ดของคุณทางช่องต่อ CD-IN
ถ้าไม่มีเสียงอะไรออกมาแสดงว่ามันหาสายเคเบิลไม่เจอ
อย่างไรก็ตาม ใน Device Manager
คุณสามารถเลือกออพชั่นที่จะให้มันดึงข้อมูลออกมาในรูปแบบดิจิตอลได้
ซึ่งจะเป็นการดึงข้อมูลเสียงออกมาง่ายๆ ด้วยระบบดิจิตอล
วิธีนี้จะช่วยมองหาสายเคเบิลให้คุณได้ในเบื้องต้น

12. นักเล่นแป้นพิมพ์
ถ้า เมาส์ของคุณไม่ทำงาน อย่าเพิ่งหมดหวัง ให้ใช้ปุ่ม [Tab], [Shift], [Alt]
กับปุ่มลูกศรต่างๆ ในการเลื่อนไปมาบนหน้าจอ สำหรับการเปิดเมนูต่างๆ ให้กด [Alt]
พร้อมกับตัวอักษรที่เป็นตัวเดียวกับที่ถูกขีดเส้นใต้ในเมนูบาร์
ใช้ปุ่มลูกศรในการเลื่อนไปมาบนเมนู ถ้าอยู่ในไดอะล็อกบ็อกซ์ ให้ใช้ [Tab]
ในการเลื่อนไปมาของปุ่มต่างๆ โดยจะมีไฮไลต์เป็นตัวบอกตำแหน่ง
แล้วกด [Enter] เมื่อถึงปุ่มที่ต้องการ

13. PS/2 งอน
มัน ก็ไม่ใช่ว่าจะเสียบแล้วเล่นได้เลยไปซะทุกอย่าง
คุณจะเสียบคีย์บอร์ดเข้าไปในขณะที่ Windows XP หรือ 2000
กำลังทำงานอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณไม่ได้
คุณจะต้องบูตเครื่องของคุณหลังจากที่คียบอร์ดมันถูกเสียบอยู่แล้ว
ไม่อย่างนั้นมันจะใช้งานไม่ได้

14. อ่านให้ออก
ไม่ บ่อยนักที่จะพบว่า CD ของเรานั้นมีหลากหลายรูปแบบ
เพราะโดยปกติแล้วมันก็มีไม่กี่จำพวกหรอก อย่างไรก็ตามไดรฟ์ต่างๆ
ก็สามารถจัดการกับทุกปัญหาทุกรูปแบบของการอ่านพวกมันได้
ในไดรฟ์ DVD รุ่นเก่าๆ ค่อนข้างที่จะรังเกียจฟอร์แมตใหม่ๆ
อย่างเช่น DVD+R และ ดิสก์ RW เฟิร์มแวร์อัพเดตช่วยเราได้ในจุดนี้
โดยที่คุณจะต้องเขียนแผนที่ความเร็วต่ำๆ ซึ่งเราอยากแนะนำว่าอย่าไปซื้อของถูก
ไม่มียี่ห้อ และไม่มีความเสถียรพอ

15. พิมพ์มันออกมา
เครื่อง พิมพ์อาจจะเป็นฮาร์ดแวร์ที่โง่เง่าที่สุดบนโลกนี้
แถมยังวุ่นวายแล้วก็เรื่องมากอีกต่างหาก ความเชื่องช้า เสียงดังน่ารำคาญ
แล้วก็ค่าใช้จ่ายในการใช้งานที่สูง เราไม่ต้องไปวุ่นวายกับเรื่องพวกนี้หรอก
เราควรไปสนใจกับอะไรที่มันอาจจะทำงานผิดพลาดได้อย่างตัวเครื่องพิมพ์เอง
ข้อมูลที่ใช้เชื่อมต่อ ไดรเวอร์ หรือ ระบบการพิมพ์ของ Windows ที่อยู่ใน Control Panel จะดีกว่า

16. จะลอยคอรอคอยไปทำไม
บาง ที Windows ก็ถือวิสาสะมาหยุดงานพิมพ์ของเราเอาดื้อๆ
ตรวจสอบสถานะของมันจากไอคอนตัว print spooler ที่อยู่ใน System Tray
เพื่อดูว่ามันทำงานไปถึงไหนแล้ว

17. ท่าเรือเล็กๆ ในพายุใหญ่
เครื่อง พิมพ์ที่มี USB ติดมาด้วยสามารถสร้างพอร์ตเสมือนต่างๆ ของเครื่องพิมพ์ได้
ซึ่งพวกมันจะถูกกำหนดไว้ใน Printers Control Panel ที่อยู่ในแท็บ Ports
 ดูให้แน่ใจว่ามันกำหนดเอาไว้ถูกพอร์ต ไม่ว่าจะเป็นพอร์ตเสมือน พาราเรล หรือ USB ก็ตาม

18. เอาอย่างที่มันเป็นนั้นแหละ
ถ้า ไม่มีกระดาษอะไรไหลออกมาที่ถาดลองกระดาษ
ให้ตรวจดูว่าเครื่องพิมพ์ที่ใช้อยู่นั้นมันถูกกำหนดให้เป็นค่าดีฟอลต์หรือ ไม่
ตรวจดูการกำหนดค่าได้ใน Printers Control Panel

19. หนูนรก
ถ้า พอร์ต PS/2 ของคุณอยู่ๆ ก็ลาโลกไปซะอย่างนั้น เมาส์ของคุณก็จะไร้ค่าไปในบัดดล
ให้ใช้คีย์บอร์ดในการเข้าไปที่ Accessibility Control Panel แล้วก็เปิดโหมด MouseKeys ซะ
ซึ่งมันจะทำให้คุณสามารถใช้ตัวเลขในคีย์แพดในการควบคุมเมาส์ของคุณแทนได้

20. โลกคู่ขนาน
ปัญหา หลักอันหนึ่งที่คุณจะต้องรับมือในการใช้งานพาราเรลพอร์ตก็คือ
การที่มันถูกปิดตัวใน BIOS หรือถูกกำหนดให้ทำงานช้าลง
โดยปกติมักจะพบปัญหานี้ในการใช้งานอุปกรณ์ภายนอกต่างๆร่วมกัน
ทางที่ดีที่สุดคุณควรกำหนดให้มันอยู่ในโหมด EPP โหมด ECP
ก็มีความเร็วเท่ากันแต่ว่ามันจะต้องใช้ DMA channel เพิ่ม
คุณยังสามารถตรวจสอบสถานะการทำงานของมันได้ใน Device Manager


เครดิต หนังสือคอมพิวเตอร์ทูเดย์

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"ระบบไฟฟ้าของเพาเวอร์ซัพพลาย"

ระบบไฟของเครื่องคอมที่ซื้อมาใหม่ค่ะไม่รู้เป็นอะไร คือว่าถ้าเสียบปลั๊กค้างไว้( ทำงานเสร็จแล้วปิดตามปกติ) พอเปิดเครื่องอีกทีจะบูตไม่ได้ค่ะ คือที่ตัวเครื่องมีไฟบอกนะคะว่าเปิด แต่ที่จอไม่ติดค่ะ ต้องถอดปลักออกก่อนแล้วค่อยเปิดใหม่ถึงจะเปิดได้ จอที่ใช้ LG 775FT ,Mainboard Asus P4S533 ,Power supply 350 watts ค่ะ รบกวนตอบกันหน่อยนะคะ 

ประสิทธิภาพและความมีเสถียรภาพของการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องคิดถึง เมื่อต้องการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์สักครั้งหนึ่ง และอุปกรณ์ส่วนหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันนั้น คือพาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) ที่เปรียบเสมือนสายเลือดที่หล่อเลี้ยงร่างกายคนเรา 

พาวเวอร์ซัพพลาย หรือเรียกว่า Swiching Power Supply เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ เพราะถ้าไม่มีแหล่งจ่ายพลังงานให้อุปกรณ์ต่างๆ ก็จะไม่สามารถทำงานได้ ที่สำคัญในหลักปฏิบัติพื้นฐานของช่างคอมพิวเตอร์, ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นตรวจสอบที่ภาคจ่ายไฟ หรือพาวเวอร์ซัพพลายนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะไปตรวจเช็ตในส่วนอื่นๆ ต่อไป 

ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 

1. AT เป็นพาวเวอร์ที่นิยมใช้กันในประมาณ 4-5 ปีก่อน (พ.ศ. 2539) โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิกส์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จัมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย) 

2. ATX เป็นพาวเวอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆ ดังนี้ 
 • ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX 
 • ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector) 
 • ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น 

การทำงานส่วนต่างๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย 

v1. ไฟกระแสสลับขาเข้า (AC Input) พลังงานไฟฟ้าในส่วนนี้ จะมาจากปลั๊กไฟ โดยที่รู้แล้วว่าไฟที่ใช้กันอยู่จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีขนาดแรงดัน 220v ความถี่ 50 Hz เมื่อเสียบปลั๊กไฟกระแสไฟฟ้าก็จะวิ่งตามตัวนำเข้ามายังเครื่องใช้ไฟฟ้า 

2. ฟิวส์ (Fuse) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการป้องกันวงจรพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมดให้รอดพ้นอันตราย จากกระแสไฟแรงสูงที่เกิดขึ้นจากการถูกฟ้าผ่า หรือกระแสไฟฟ้าแรงสูงในรูปแบบต่างๆ โดยหากเกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าที่ฟิวส์จะทนได้ ฟิวส์ตัวนี้ก็จะตัดในทันทีทันใด 

3. วงจรกรองแรงดัน วงจรกรองแรงดันนี้จะทำหน้าที่กรองแรงดันไฟไม่ว่าจะเป็นแบบกระแสสลับ หรือกระแสตรงก็ตาม ที่เข้ามาให้มีความบริสุทธิ์จริงๆ เพื่อป้องกันแรงดันไฟที่ผิดปกติเช่นไฟกระชาก ซึ่งจะเป็นผลให้วงจรต่างๆ ในพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหายขึ้นได้ 

4. ภาคเรคติไฟเออร์ (Rectifier) หลังจากที่ไฟกระแสสลับ 220v ได้วิ่งผ่านฟิวส์ และวงจรกรองแรงดันเรียบร้อยแล้วก็จะตรงมายังภาคเรคติไฟเออร์ โดยหน้าที่ของเจ้าเรคติไฟเออร์ ก็คือ การแปลงไฟกระแสสลับ ให้มาเป็นไฟกระแสตรง ซึ่งก็ประกอบไปด้วย 
 • ตัวเก็บประจุ (Capacitor) จะทำหน้าที่ทำปรับให้แรงดันไฟกระแสตรงที่ออกมาจากบริดเรคติไฟเออร์ ให้เป็นไฟกระแสตรงที่เรียบจริงๆ 
 • ไดโอดบริดจ์เรคติไฟเออร์ (Bridge Rectifier) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัว IC หรือแบบที่นำไดโอด 4 ตัวมาต่อกันให้เป็นวจรบริดจ์เรคติไฟเออร์ 

5. วงจรสวิตชิ่ง (Switching) เป็นวงจรที่ใช้ในการทำงานร่วมกับวงจรควบคุม (Contrlo Circuit) เพื่อตรวจสอบว่าควรจะจ่ายแรงดันทั้งหมดให้กับระบบหรือไม่ โดยถ้าวงจรควบคุมส่งสัญญาณมาให้กับวงจรสวิตซิ่งว่าให้ทำงาน ก็จะเริ่มจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากภาคเรคติไฟเออร์ไปให้กับหม้อแปลงต่อไป 

6. หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) หม้อแปลงที่ใช้ในวงจรสวิตชิ่งซัพพลายจะเป็นหม้อแปลงที่มีหน้าที่ในการแปลงไฟที่ได้จากภาคสวิตชิ่ง ซึ่งก็รับแรงดันไฟมาจากภาคเรติไฟเออร์อีกต่อหนึ่ง โดยแรงดันไฟฟ้ากระแสงตรงที่มีค่าแรงดันสูงขนาดประมาณ 300 v ดังนั้นหม้อแปลงตัวนี้ก็จะทำหน้าที่ในการแปลงแรงดันไฟกระแสตรงสูงนี้ให้มีระดับแรงดันที่ลดต่ำลงมา เพื่อที่จะสามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ก่อนที่จะส่งไปให้วงจรควบคุมแรงดันต่อไป 

7. วงจรควบคุมแรงดัน (Voltage Control) เป็นวงจรที่จะกำหนดค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้รับมาจากหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อที่จะให้ได้ระดับแรงดันที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยค่าของระดับแรงดันไฟฟ้านี้ก็จะมีขนาด 5v และ 12v สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดแบบ AT แต่ถ้าเป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดที่เป็นแบบ ATX ก็จะต้องมีวงจรควบคุมแรงดันให้ออกมามีขนาด 3.3v เพิ่มอีกหนึ่ง (ซึ่งซีพียูรุ่นเก่าที่ใช้แรงดันไฟขนาด 3.3 v นี้ก็สามารถที่จะดึงแรงดันไฟในส่วนนี้ไปเลี้ยงซีพียูได้เลย) 

8. วงจรควบคุม เป็นวงจรที่ใช้ในการควบคุมวงจรสวิตชิ่ง ว่าจะให้ทำการจ่ายแรงดันไปให้กับหม้อแปลงหรือไม่ และแน่นอนว่าในส่วนนี้จะทำงานร่วมกับวงจรลอจิกที่อยู่บนเมนบอร์ด เมื่อวงจรลอจิกส่งสัญญาณกลับมาให้แก่วงจรควบคุม วงจรควบคุมก็จะสั่งการให้วงจรสวิตชิ่งทำงาน 

วิธีการเลือกซื้อ 

1. เลือกดูกำลังวัตต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของเครื่องแต่ละคน (ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่ากำลังวัตต์ที่ปรากฏอยู่มีกำลังวัตต์จริง หากไม่มีเครื่องมือวัดให้ใช้หลักการง่ายๆ ในการตรวจสอบ คือตรวจสอบน้ำหนักของพาวเวอร์ซัพพลายนั้น เพราะถ้ามีน้ำหนักมากหมายถึงอุปกรณ์ภายใน เช่น หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้ามีขนาดใหญ่ หรือตัวเหนี่ยวนำจะมีขนาดใหญ่) 

2. ดูสภาพจากกล่องภายนอกว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่บุบเบี้ยว 

3. สายไฟ ขนาดไม่เล็กจนเกินไป ปลั๊กไฟมีจำนวน 6-9 หัว (ขึ้นอยู่กับรุ่น) และอยู่ในสภาพสมบูรณ์) 

4. มาตรฐานรับรองความปลอดภัยจากหน่วยงานต่างๆ เช่น FCC/ CE/ UL/ TUV เป็นต้น